การสอนภาษาอังกฤษให้ลูก วัย 0-3 ขวบ (ตอนที่ 1 : ช่วงก่อน 1 ขวบ)

ถ้าจะสอนลูกแบบ 2 ภาษา จะต้องพูดอะไรบ้าง? แล้วต้องพูดคำไหนก่อน ประโยคไหนก่อน? แล้วต้องใช้สื่อการสอนแบบไหน อย่างไร? โอ๊ย... ปวดหัว 55555






ต้องบอกว่ามันไม่มีคำตอบที่ตายตัวนะคะ เพราะเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน และสถานการณ์หรือสิ่งแวดล้อมของแต่ละบ้านนั้นต่างกัน เราคงไม่สามารถแนะนำได้แบบเป๊ะๆ แต่เราขอแชร์ในส่วนที่เราทำ เราใช้ เราทดสอบกับลูกของเราเองนะคะ




#ต้องบอกก่อนว่า #อันนี้เป็นวิธีการเฉพาะตัวที่เราทำเองแล้วได้ผลนะคะ #มันยังมีวิธีอื่นๆอีกมากมายที่ให้ผลลัพธ์ที่ดีเหมือนกันค่ะ


บทความตอนที่ 1 นี้ เราจะพูดถึงช่วงวัยก่อนที่จะครบ 1 ขวบ เราเริ่มคุยภาษาอังกฤษกับลูกตอน 6 เดือนค่ะ แต่เหมืนเค้าจะยังไม่รับรู้เท่าไหร่ ได้แต่ฟัง ไม่หือไม่อือ แต่เราก็ยังคุยต่อไปค่ะ ไม่ได้ซีเรียส ไม่กดดัน ก็เหมือนคุยถาษาไทยกับลูกแหละค่ะ เค้าไม่รู้เรื่องหรอก แค่มองตาแล้วก็ยิ้มๆ 5555


มาเริ่มจริงๆจังๆก็ตอนที่เค้าอายุครบ 9 เดือน เพราะเค้าพูดคำแรกออกมาแล้วค่ะ แต่เป็นภาษาไทย 5555 ถึงตอนนี้เราก็พูดภาษาอังกฤษให้เค้าฟังทุกวันค่ะ ชวนคุย เล่านิทานไปเรื่อย


สื่อหลักที่เราใช้คือสื่อประเภทหนังสือนิทาน หนังสือนิทานที่เราใช้จะไม่ใช่หนังสือที่มี 2 ภาษา แต่มีภาษาเดียวเลยคือภาษาอังกฤษค่ะ และเป็นหนังสือนิทานภาษาอังกฤษแท้ๆที่มาจากต่างประเทศ ไม่ใช้หนังสือภาษาอังกฤษที่เขียนโดยคนไทย หนังสือนิทาน หนังสือนิทานภาษาไทยก็มีค่ะที่บ้าน ไม่ได้ถึงกับว่าไม่ให้เห็นหรือสัมผัสภาษาไทยเลย นิทานภาษาไทยเราก็เล่าตามปกติค่ะ แต่หนังสือเราจะแยกภาษากันชัดเจน



ฉะนั้นช่วงอายุ 9-12 เดือน เราเน้นนิทานมากๆค่ะ นิทานภาษาอังกฤษตอนนั้นมีประมาณ 100 เล่มค่ะ ส่วนใหญ่ซื้อมือสอง หาซื้อเอาตาม facebook นี่แหละ สาเหตุที่ไม่ซื้อมือ 1 เพราะลูกชอบฉีกขาด หนังสือพังไปหลายเล่มแล้ว เราเพิ่งมาเริ่มซื้อหนังสือนิทานภาษาอังกฤษมือ 1 ก็ตอนที่ลูกอายุ 3 ขวบแล้วค่ะ เลิกฉีกแล้ว


ส่วนที่ว่าหนังสือเล่มไหนดี เดี๋ยวเราเขียนหมายเหตุไว้ให้ในตอนที่ 1.1 แล้วกันนะคะ อาจจะกลับมาเขียนหลังจากที่เขียนตอนอื่นๆครบแล้ว หรือถ้ามีเวลาก็อาจจะเขียนเร็วกว่านั้นค่ะ


คุยอะไรบ้าง?

สำหรับเด็กเล็กวัย 9-12 เดือน แม่ก็คุยเรื่องสัพเพเหระทั่วไปในบ้านนี่แหละค่ะ กินข้าว อาบน้ำ แปรงฟัน ทำกิจกรรมอะไรก็พูดอันนั้น เค้ายังจำหรือพูดไม่ได้หรอกค่ะ แต่เค้าซึมซับแล้ว ใช้คำที่ลงท้ายด้วยเสียง 'y' เช่น tummy, mummy, yummy, doggy แลดูน่ารักเนาะ และจำง่ายด้วยค่ะ เด็กๆชอบ อันนี้เราใช้ถึง 3 ขวบเลยนะคะ

เด็กเล็กๆเรียนรู้จากการที่เราพูดบ่อยๆซ้ำๆ ช่วงนี้แม่อาจจะเบื่อที่ต้องพูดคำเดิมๆซ้ำๆหลายครั้ง บางคำพูดเป็น 100 ครั้งซ้ำไปซ้ำมา แต่ขอให้อดทนไว้นะคะ ผลลัพธ์ที่ดีจะตามมาอย่างแน่นอนค่ะ

เวลาเห็นอะไรเราจะชี้บอกลูกเสมอไม่เคยขาด ย้ำว่าไม่เคยขาด เห็นสิ่งของเราชี้แล้วบอกเลยว่าสิ่งนี้เรียกว่าอะไร แต่ยังไม่ตั้งคำถามกลับในช่วงวัยนี้เพราะเค้าไม่รู้เรื่องค่ะ เดินยังไม่ได้เลย ไปหัดเดินก่อน 5555 ยังไม่สอนเรื่องสีและรูปทรงนะคะ เราสอนหลัง 2 ขวบเลย


สิ่งที่ต้องทำมีไม่กี่ข้อสำหรับเด็กก่อน 1 ขวบ

1. คุยด้วยบ่อยๆ เยอะๆ และสบตาเค้าเวลาคุย

2. มีเวลาส่วนตัวในการคุยกันแบบ 1-1 ทุกวัน (คุยภาษาอังกฤษกัน 2 คน ในที่เงียบๆเช่นห้องนอน ไม่มีคนอื่น) สำหรับเราคือวันละ 30-60 นาที ทุกวันไม่ขาด คุยอะไร? ก็เล่านินทานไง แค่นั้นเองค่ะ ทุกวันนี้เราก็ยังทำอยู่ค่ะ กะว่าจะทำไปนานถึง 10 ขวบเลย

3. เมื่อลูกโต้ตอบต้องรับฟัง ซึ่งวัยนี้เค้ายังพูดไม่ได้ ได้แค่อ้อแอ้ พูดเป็นคำได้แค่บงคำเป็นคำเดี่ยว แต่เราก็ต้องฟังค่ะ ตอบอะไรมาแม้จะเป็นเสียงอ้อแอ้ธรรมดาก็นิ่งรับฟังเสมอ

4. อย่าดูทีวี คุยกับเราดีกว่า

5. ใช้ภาษาปกติ ไม่ใช้ภาษาเด็ก เพื่อให้เค้าเรียนรู้ภาษาที่แท้จริง

6. ร้อง Nursery Rhymes เราแปะ link ไว้ให้แล้วในบทความก่อนหน้านี้ค่ะ


วัยนี้เด็กหลายคนจะสามารถทำตามคำสั่งหรือคำขอบางอย่างได้ เช่น "Come here" "Give me" เค้าช่วยหยิบของได้เมื่อเราพูด Give me ลองพูดแล้วยื่นมือรอรับ แรกๆจะงง หลายครั้งเข้าเค้าจะหยิบของมาให้ค่ะ (เราเปลี่ยนจาก give me เป็นคำอื่นที่สุภาพมากขึ้นตอนหลัง 2 ขวบครึ่งค่ะ) คำสั่งอื่นๆที่เค้าเข้าใจ ได้แก่ wave hands, stand up, sit down, shake เป็นต้น


ลูกเราจำคำศัพท์หลายคำได้ในช่วงนี้ แม้จะยังไม่พูดออกมา แต่เราสังเกตจากเวลาขอให้เค้าหยิบของให้แล้วเค้าหยิบถูก เช่น shoes, book เป็นต้น คำศัพท์ที่เป็นสิ่งของรอบๆตัวสามารถสอนได้เลยตั้งแต่ตอนนี้ เค้าจำได้หมดค่ะ แต่ยังไม่พูดมันออกมาเท่านั้น


สำหรับเด็กวัย 1-2 ขวบ เราจะเขียนในตอนถัดไป รอติดตามอ่านนะคะ


#ก็อบปี้บทความไปกรุณาให้เครดิต
#เพจสวัสดีชาวลูก https://web.facebook.com/sawasdeekids


อ่านเนื้อหาบทความตอนเกริ่นนำ ได้ที่ http://bit.ly/2vOd7e5
อ่านเนื้อหาบทความตอนที่ 1 ได้ที่ http://bit.ly/2Wt129W
อ่านเนื้อหาบทความตอนที่ 2 ได้ที่ http://bit.ly/2w7O7yC
อ่านเนื้อหาบทความตอนที่ 3 ได้ที่ http://bit.ly/2Xep1d6
อ่านเนื้อหาบทความตอนที่ 4 ได้ที่ http://bit.ly/2XLJdDm


แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น